การเขียนโค้ดภาษา PHP มีดังนี้
ในการเขียนโปรแกรมในทุกภาษานั้น มีหัวใจสำคัญคือเราต้องเรียนรู้ค่าต่างๆที่ภาษานั้นๆมีบอกหรือระบุเอาไว้ เอาง่ายๆว่า เรียนรู้ขอบเขตของภาษานั้นๆเอาไว้ให้ครบถ้วน แล้วเราจะไม่เขียนผิด หรือหลงหรือพลาดแบบง่ายๆได้ ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของภาษา PHP ก็มีไม่กี่อย่าง เราทำความรู้จักเอาไว้ง่ายๆก่อน
- ข้อมูลชนิดตัวเลข หรือ Number ข้อมูลเหล่านี้เป็นได้ทั้งจำนวนเต็ม Integer เช่น 5,10,-5, -10 หรือจะเป็นทศนิยมที่เรียกกันว่า Float ก็ได้เช่น 5.5, 9.5, -11.3 เป็นต้น
- ข้อมูลชนิดสตริง (String) ข้อมูลชุดนี้จะเป็นอักขระ อักษร ซึ่งไม่ได้มีกฎเกณฑ์บังคับว่าต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น เป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นๆก็ได้เช่นกัน แต่ข้อจำกัดคือ เพื่อให้โปรแกรมรู้ว่าข้อมูล string เหล่านี้เริ่มต้นที่ใดและจบลงที่ใด จึงต้องมีเครื่องหมายกำหนดจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดเอาไว้ทุกครั้ง ซึ่งมีสองเครื่องหมาย ใช้ได้ทั้งสองแบบ โดยเราจะมาบอกทีหลังว่าต่างกันอย่างไร เครื่องหมายนั้นคือ “…” หรือ ‘….’ นั่นเอง ยกตัวอย่างคำเช่น “สวัสดี” ‘ประเทศไทยเรารักนายกฯ’ เป็นต้น
- ข้อมูลแบบสุดท้ายคือข้อมูลบูลีน (Boolean) ข้อมูลบูนลีนจะใช้ในการเทียบในเชิงตรรกศาสตร์ นั่นก็คือผลลัพธ์มีสองค่าเท่านั้นคือ จริง กับ เท็จ (True or False) เท่านั้น ซึ่งทั้งคำว่า true และ false ในภาษา PHP ยกเว้นให้ใช้ค่าได้เลย ไม่ต้องมี “…” หรือ ‘…’ เพราะไม่ถือว่าเป็นข้อมูลสตริง ซึ่งเราจะต่อยอดการใช้ true/false ได้ต่อไปในหลายๆเรื่องของ PHP
ทริคเล็กๆในการกำหนดตัวแปรของภาษา PHP คือ เราสามารถกำหนดได้หลากหลายมากเช่น กำหนดลงไปตรงๆเลยเป็นข้อมูลตัวเลข อย่าง $x=123; $y=5.44; $z=-456; เป็นต้น
หรือกำหนดเป็นค่าตามข้อมูล string เช่น $name= “นายประยุทธ์ จันอังคารพุธ”; หรือ $country = ‘ที่นี่ประเทศไทย’; เป็นต้น
โอเปอเรเตอร์ที่สำคัญที่ควรรู้ในภาษา PHP ก็เป็นสิ่งจำเป็น เราจะไม่กล่าวถึง +,-,*,/ ที่น่าจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว (บวก ลบ คูณ หาร) แต่เราจะมาดูอะไรที่มากกว่านั้นซักหน่อยเช่น
+= เครื่องหมายนี้คือ นำค่าที่กำหนดไปบวกเพิ่มจากค่าเดิมตัวแปร แล้วเอาผลลัพธ์กลับมาไว้ที่ตัวแปรเดิม ดังนี้ $x = 10; $x += 8; // แปลว่า$x = 18 นั่นเอง
-= ก็ให้ความหมายในทางตรงข้ามกัน หากยกตัวอย่างเดิม $x = 10; $x -= 8; // แปลว่า$x = 2 นั่นเอง
และต่อยอดความหมายคล้ายกันนีด้วย *= (คูณเพิ่มเข้าไปในค่าตัวแปรเดิม ด้วยค่าที่ระบุ)
/= (หารเพิ่มเข้าไปในค่าตัวแปรเดิม ด้วยค่าที่ระบุ) แบบนี้เป็นต้น
การเขียนโค้ดภาษา PHP